วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Greeting (การทักทาย)

Greetings (การทักทาย)
การพบปะกันในชีวิตประจำวันตามปกติแล้วจะมีการทักทายกันตามธรรมเนียม สำหรับประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษ มักจะใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายว่า “สวัสดี” ในช่วงเวลาและกับบุคคลที่แตกต่างกันดังนี้

1. 1. Good morning
Good morning แปลว่า สวัสดี (ตอนเช้า) ใช้กับบุคคลโดยทั่วไปตั้งแต่เวลาเช้าหรือหลังเที่ยงคืนถึงเวลาเที่ยงวัน หรือเวลาอาหารกลางวัน การออกเสียง Good มักจะเบาจนบางครั้งได้ยินแต่ morning สำหรับผู้ตอบนั้นก็กล่าวว่า Good morning ในทำนองเดียวกัน
ตัวอย่าง
A : “Good morning……………………”
B : “Good morning……………………”

2. 2. Good afternoon
Good afternoon แปลว่า สวัสดี (ตอนบ่าย) ใช้กับบุคคลโดยทั่ว ๆ ไปตั้งแต่หลังเวลาเที่ยงวันหรือเวลาอาหารกลางวันจนไปถึงเวลาพระอาทิตย์ตกดินหรือราวหกโมงเย็น การออกเสียงคำทักทายนี้ออกเสียงเบาที่ Good เช่นเดียวกับ Good morning สำหรับผู้ตอบนั้นก็กล่าวคำว่า Good afternoon เช่นเดียวกับผู้ทักทาย
ตัวอย่าง
A : “Good afternoon……………………”
B : “Good afternoon ……………………”

3. 3. Good evening
Good evening แปลว่า สวัสดี (ตอนค่ำ) ใช้กับบุคคลโดยทั่ว ๆ ไปตั้งแต่เวลาหลังหกโมงเย็นไปแล้ว คำทักทายนี้ออกเสียงเบาที่ Good เช่นเดียวกับ Good morning และ Good afternoon สำหรับผู้ตอบนั้นก็กล่าว Good evening เช่นเดียวกับผู้ทักทาย
ตัวอย่าง
Joe : “Hello, Jack…………………… .”
Jack : “Hello…………………… ”
4. 4. Hello / Hi
Hello และ Hi แปลว่า สวัสดี ใช้กับบุคคลที่สนิทเป็นกันเองหรือในการทักทายที่มิได้เป็นพิธีการ เราจะไม่ใช้กับผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามอาจใช้กับพ่อแม่ หรือผู้ที่สนิทกันได้ในบางโอกาส สำหรับการตอบนั้น ผู้ตอบก็กล่าวเช่นเดียวกับผู้ทักทาย
5. 5. How do you do?
How do you do? เป็นข้อความที่ใช้ทักทายกันเฉพาะกับคนที่พบหรือรู้จักกันเป็นครั้งแรกใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้อความนี้เป็นรูปคำถามที่มีความหมายว่า “สวัสดี” ซึ่งไม่ต้องการคำตอบ ดังนั้นผู้ตอบจึงต้องกล่าวตอบโดยใช้ How do you do? เช่นเดียวกับผู้ทักทาย
ตัวอย่าง
A : “How do you do?
B : “How do you do?
6. 6. How are you? (การถามเกี่ยวกับทุกข์สุข)
หลังจากการกล่าวทักทายกันด้วยคำว่า “สวัสดี” แล้ว ประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษมักจะถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องถามทุกข์สุขของอีกฝ่ายหนึ่งติดตามมา โดยกล่าวข้อความต่อไปนี้
How are you? (คุณเป็นอย่างไร)
How are you…………………?
(today)
(this morning)
(this afternoon)
(this evening)



Auxiliary Verbs กริยาช่วย หรือ กริยานุเคราะห์

คำอ่าน คำแปล รูปปัจจุบัน รูปอดีต (รูปช่องที่ 3)
Present form Past form Past participle form
*be บี เป็นอยู่คือ is, am,are was, were been
*have แฮฟ ไม่แปล have, has had had
*do ดู ไม่แปล do, does did done
can แคน สามารถ can could -
may เมย์ อาจจะ may might -
will วิล จะ will would -
shall แชล จะ shall should -
must มัส ต้อง must - -
ought to ออท ทู ควรจะ ought to - -
*need นีด จำเป็นต้อง need - -
*dare แดร์ กล้า dare - -
used to ยูสทึ ทู เคย - used to -



หน้าที่ของกริยาช่วย

ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของประโยค (ทำให้ประโยคมีความหมายที่สมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
She is a very beautiful girl. เขาเป็นเด็กที่สวยมากคนหนึ่ง
Where are you now? ตอนนี้คุณอยู่ไหน
I am an English student. ฉันเป็นนักศึกษาภาษาอังกฤษคนหนึ่ง
ช่วยในประโยคปัจจุบันกาลกำลังกระทำ (S + is, am, are + v.1 ing)
บอกเล่า She is cleaning the house. เขากำลังทำความสะอาดบ้าน
คำถาม Is she cleaning the house? เขากำลังทำความสะอาดบ้านหรือ
ปฏิเสธ She is not cleaning the house? เขาไม่ได้กำลังทำความสะอาดบ้าน
ช่วยในประโยคอดีตกาลกำลังกระทำ (S + was, were + v.1 ing)
She was working at nine o’clock yesterday. เมื่อวานตอน 9 โมง เขากำลังทำงาน
Was she working at nine o’clock yesterday? เมื่อวานตอน 9 โมง เขากำลังทำงานอยู่หรือ
She was not working at nine o’clock yesterday. เมื่อวานตอน 9 โมง เขาไม่ได้กำลังทำงาน
ช่วยในประโยค Passive Voice (S + is, am, are, was, were + V.3) หรือประโยคที่ประธานถูกกระทำนั่นเอง
He is called Mr. Brown เขาถูกเรียกว่า นายบราวน์
I was born in Surin. ฉันเกิดในจังหวัดสุรินทร์
NESC center is located beside the river ศูนย์ NESC (ถูก) ตั้งอยู่ข้างแม่น้ำ
All students are punished by a teacher. นักเรียนทั้งหมดถูกตีโดยครู
ช่วยในประโยค Present Perfect Tense (S + has, have +V.3)
She has stayed in Bangkok for 3 years. เขาได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 ปีแล้ว
Monks have taugh Dhamma since 9 o’clock. พระได้สอนธรรมะตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา
ช่วยในประโยค Past Perfect Tense (S+ had + v.3)
You had spoken all the time. คุณได้พูดตลอดเวลา
ช่วยในประโยคที่มีกริยาแสดงความรู้สึกอยู่ด้วย (be + interested………….)
They are interested in English conversation. พวกเขาสนใจในการสนทนาภาษาอังกฤษ
I was excited very much. ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากๆ
การทำประโยคคำถามและปฏิเสธ
ถ้าในประโยคนั้น มีกริยาช่วยอยู่ สามารถตั้งคำถามได้เลย โดยวางกริยาช่วยไว้ข้างหน้าประโยค และทำเป็นประโยคปฏิเสธ โดยการเติม not ไว้หลังกริยาช่วย เช่น
บอกเล่า He has lived in Bangkok. เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
คำถาม Has he lived in Bangkok? เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ หรือ
ปฏิเสธ He has not lived in Bangkok. เขาไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
บอกเล่า You had spoken all the time. คุณได้พูดตลอดเวลา
คำถาม Had you spoken all the time? คุณได้พูดตลอดเวลาหรือ
ปฏิเสธ You had not spoken all the time. คุณไม่ได้พูดตลอดเวลา
บอกเล่า They are interested in English. พวกเขาสนใจในภาษาอังกฤษ
คำถาม Are they interested in English? พวกเขาสนใจในภาษาอังกฤษหรือ
ปฏิเสธ They are not interested in English. พวกเขาไม่ได้สนใจในภาษาอังกฤษ